นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?

นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?


สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง

เรื่องของการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ หมายถึง ความอยู่รอดและความเป็นความตายสำหรับหลายๆ ธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป และธุรกิจผลิต ที่จะต้องสต๊อกสินค้าไว้ล่วงหน้าก่อนจะขายต่อให้กับลูกค้า

เพื่อลดปัญหาอันน่าปวดหัวจากสินค้าคงเหลือ วันนี้เราพาทุกคนมาทำความเข้าใจอัตราส่วนทางการเงินกับสินค้าคงเหลือกัน เริ่มต้นจากรู้จักแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน การวิเคราะห์อัตราส่วนสินค้าคงเหลือนั้น จะมีข้อมูลจาก 2 แหล่ง

1.สินค้าคงเหลือ ในงบแสดงฐานะการเงิน
2.ต้นทุนขาย ในงบกำไรขาดทุน

แน่นอนว่าสินค้าคงเหลือเป็นตัวสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับต้นทุนขาย เวลาเราซื้อสินค้ามาหรือผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ก็บันทึกเป็นสินค้าคงเหลือ พอเราขายเราก็ตัดออกมาเป็นต้นทุนขายตามจำนวนสินค้าที่ขายได้ ดังนั้น ยอดสินค้าคงเหลือก็ย่อมมีความเกี่ยวโยงกับต้นทุนขายอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว ถัดมาเรามาทำความเข้าใจ 2 อัตราส่วนทางการเงินที่ช่วยวิเคราะห์สินค้าคงเหลือกัน

1. อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover) 
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ หมายถึง จำนวนรอบ (Turnover) ที่สินค้าคงเหลือทำได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่สินค้าคงเหลือเข้ามาในกิจการและถูกจำหน่ายออกไป ถ้ากิจการไหน มีรอบการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือมากใน 1 ปี ยิ่งแปลว่า สินค้าหมุนเวียนได้ดี

สูตรที่ใช้คำนวณมีตามนี้       

อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)  =  ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
ตัวอย่างเช่น บริษัท AAA มีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยปี 2563 และ 2564 = 27,000 บาท และมีต้นทุนขายเฉลี่ย = 363,000 บาท  

อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)  = 363,000 / 27,000  = 13.44 รอบ

อัตราหมุนเวียนของสินค้าจำนวน 13.44 รอบนั้น แปลว่า ใน 1 ปี บริษัท AAA ซื้อสินค้ามาแล้วขายออกไปได้ทั้งหมด 13.44 รอบ นั่นเอง

ถ้าสมมติปีก่อนมีรอบการหมุนเวียนจำนวน 10 รอบ แปลว่า ปี 2564 บริษัท AAA ทำผลงานได้ดีขึ้น

2. ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory) 
ระยะเวลาในการถือครองสินค้าคงเหลือ หมายถึง จำนวนวันที่เราถือสินค้าไว้กับมือโดยเฉลี่ย ตั้งแต่เริ่มซื้อวัตถุดิบเข้ามาจนกระทั่งขายของออกไป ว่าเราถือสินค้าเหล่านี้ไว้จำนวนทั้งหมดกี่วัน

ถ้ากิจการไหน มีจำนวนการถือครองสินค้าคงเหลือน้อย ๆ แปลว่า ดี เพราะนั่นหมายความว่าสินค้าในสต๊อกหมุนเวียนขายออกไปได้เร็วนั่นเอง

สูตรที่ใช้คำนวณมีตามนี้

ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory)   = 365 Day / อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ

ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลเดิมของ บริษัท AAA เราเอามาคำนวณจำนวนวันที่ถือครองสินค้าได้ตามนี้

ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory)   = 365 / 13.44  = 27.16 วัน

ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงเหลือ 27.16 วัน หมายถึง โดยเฉลี่ยบริษัท AAA ต้องถือสินค้าไว้จำนวน 27.16 วันกว่าที่จะขายสินค้าได้ ถ้าสมมติในอดีตถือสินค้าไว้ 36 วัน ปัจจุบันจำนวนวันน้อยลงแปลว่า บริษัท AAA บริหารสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


Source (ต้นฉบับจาก): https://www.thaicpdathome.com/article/how-to-analyze-inventories
Copyright by ThaiCpdatHome.com
 1040
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์