ยื่นภาษีออนไลน์ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ยื่นภาษีออนไลน์ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


การยื่นภาษีถือว่าเป็น “หน้าที่” ของทุกคนที่มีรายได้

เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"

โดยในปัจจุบันมีการเปิดช่องทางให้ยื่นภาษีออนไลน์

เป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเข้าถึงการยื่นภาษีได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น และยังลดขั้นตอนการยื่นภาษีจากอดีต ทำให้การยื่นภาษีเป็นไปโดยง่าย รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น  

ภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

การยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

    -ภ.ง.ด.94 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)-(8) ต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของงวดเดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน (เป็นการเสียภาษีครึ่งปี สำหรับคนไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้ อย่างอื่นมาแทนเช่น ปันผลจากกองทุนและหุ้น ขายที่ดินได้)

    -ภ.ง.ด.91 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภท “เงินเดือน” อย่างเดียวให้ยื่่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของทั้งปี (ครั้งเดียว) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

    -ภ.ง.ด.90 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่มิใช่เงินเดือน หรือมีเงินได้ 2 ประเภท ขึ้นไป (หรือสำหรับคนมีเงินเดือนและมีรายได้อื่นด้วย เช่น ปันผลจากกองทุนและหุ้น ขายที่ดินได้ หรือจากมรดก เป็นต้น)

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

    1. สามารถยื่นภาษีออนไลน์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://www.rd.go.th/ และเลือก ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต

    2. เลือก ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 โดยเลือกภาษีเงินได้จากประเภทเงินได้ที่เราได้รับจากประเภทการยื่นภาษีที่กล่าวมาข้างต้น

    3. ขั้นตอนสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตและผู้ที่เคยยื่นมาก่อนแล้ว จะมีช่องแบบฟอร์มให้กรอกสำหรับการลงทะเบียนก่อนในเบื้องต้น แต่หากเป็นผู้ที่เคยยื่นภาษีออนไลน์มาแล้ว สามารถเข้าไปที่รายละเอียดการ “ยื่นภาษี” ได้เลย

    4. ให้เราใส่หมายเลขและรหัสผ่านที่ได้รับ จากนั้นให้กรอกรายละเอียดให้ครบทุกช่องทางตามที่ขึ้นโชว์หน้าเว็บไซต์ หากกรอกไม่ครบถ้วนจะไม่สามารถบันทึกรายการได้ จะต้องย้อนกลับไปกรอกใหม่ให้ครบถ้วน

    5. บันทึกเงินได้ บันทึกลดหย่อน จากนั้นให้กดคำนวณภาษี ซึ่งระบบจะทำการคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ จากนั้นให้ยืนยันการยื่นแบบ

สำหรับผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินและขอคืนภาษี สามารถสมัครบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารไว้กับบัตรประชาชน จะได้รับเงินคืนจากการขอคืนภาษีที่เร็วกว่าการจ่ายคืนเป็นเช็ค โดยกรมสรรพากรจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกด้วยพร้อมเพย์ได้ง่าย ทำให้เราได้รับเงินคืนภาษีที่เร็วและสะดวกขึ้น 


ที่มา : Link

 860
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย)  เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย  สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก 
TAX กับ VAT เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และถือเป็นการเสียภาษีให้กับภาครัฐเหมือนกันหรือไม่? 
เทศกาลปีใหม่ที่ผ่านไปนั้น เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บริษัทห้างร้านหลายแห่ง และถือเป็นส่วนใหญ่ที่ต่างก็มีการจัดงานสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานลูกจ้าง มีทั้งการจัดเลี้ยงอาหาร และจับรางวัล แจกของขวัญซึ่งก็เป็นปกติทั่วไปที่ต้องมีคนโชคดีมากที่ได้รับรางวัลใหญ่และก็ต้องมีคนโชคดีน้อยที่ก็จะได้รับรางวัลน้อยกลับบ้านต่าง ๆ กันไป ในที่นี้มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมากล่าวถึงกับในเรื่องของการแจกของขวัญให้แก่พนักงานลูกจ้างว่า สำหรับการจัดงานปีใหม่ให้แก่พนักงาน ในกรณีที่นายจ้างได้เขียนระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานระบุไว้แล้วนั้นจะมีประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบันทึกบัญชีให้สามารถนำส่งภาษีได้ถูกต้องและครบถ้วนต่อไป ดังนี้
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์