คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งจากผู้ประกอบการ และนักบัญชีเองนั้นมีมากมายหลากหลายคำถาม ในบทความนี้ เราได้สำรวจและรวบรวม 5 คำถามยอดฮิต พร้อมคำตอบมาให้เพื่อนๆ กันค่ะ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ว่านั้น จะมีเรื่องอะไรบ้างลองไปดูกันค่ะ

1.ทำไมต้องมีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย?
การที่มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะช่วยบรรเทาภาระภาษีของผู้มีเงินได้ เช่น นาย ก. มีรายได้จากการเป็นลูกจ้างที่บริษัทแห่งหนึ่งทุก ๆ เดือนเงินได้รวมทั้งปีอาจจะเป็น 1 ล้านบาท พอสิ้นปีถ้าไม่โดนหัก ณ ที่จ่ายเลยจะต้องมาเสียภาษีครั้งสุดท้ายตอนสิ้นปีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นก็อาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินผู้เสียภาษีลดลงไปได้ ในส่วนของรัฐ รัฐเก็บภาษีล่วงหน้า มีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอเพราะว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายผู้ที่หัก ณ ที่จ่ายจะต้องนำส่งทุก เดือน ดังนั้นรายได้ที่เข้าสู่คลังก็จะเข้ามาอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน หรืออีกนัยนึง มีการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพราะจะช่วยลดการหลีกเลี่ยงภาษีในภายหลังได้

2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็ม เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง

3.ใครมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และใครนำส่งสรรพากร?
หลายคนอาจคิดว่าเฉพาะบริษัท หรือนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จริงๆแล้ว การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่จ่ายออกไป เช่น การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ดังนั้นแม้ว่า จะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เปิดร้านแต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีพนักงาน จ้างคนมาเฝ้าร้าน ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีที่จ่ายค่าจ้างและนำส่งสรรพากรเนื่องจากเข้าเกณฑ์ที่ต้องหัก กล่าวคือ ผู้ที่จะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้จ่ายเงินที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการทั่วไป บริษัทห้างร้าน สมาคม จนถึงองค์กรของรัฐ ขึ้นอยู่กับจ่ายเป็นค่าอะไร และผู้ที่ถูกหักนั้น ต้องเสียภาษีหรือไม่

4.ใครที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย?
“ผู้ที่ต้องเสียภาษีทุกคนต้องถูกหัก”  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม อีกนัยนึงคือ ถ้าคุณไม่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายค่ะ ซึ่งคุณสามารถบอกคู่ค้า หรือผู้ที่จ่ายเงินไว้ก่อนว่าไม่จำเป็นต้องหัก ณ ที่จ่ายนะ หรือถ้าถูกหักไว้แล้ว สามารถขอคืนได้ เช่น ประกอบธุรกิจที่ได้  BOI หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พวกนี้ไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย

5.หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องหักเมื่อไร?
มื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่ เช่น ถ้าแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,200 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท คุณต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้แต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาท

ตัวอย่างรายการที่ต้องหัก และนำส่ง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  

1.เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)
2.จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)
3.ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
4.จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)
5.จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)
6.ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)
7.ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)



ที่มา : thaicpdathome.com
 3088
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์