บทความบัญชี

บทความบัญชี

274 รายการ
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
533 ผู้เข้าชม
( ภาษาอังกฤษ There are many types )บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น
810 ผู้เข้าชม
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
12319 ผู้เข้าชม
วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้าของจะสามารถนำเงินออกจากบริษัทได้โดยทางใดบ้าง และแต่ละทางมีข้อดี-ข้อเสียทางภาษีที่แตกต่างกันอย่างไร
789 ผู้เข้าชม
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
618 ผู้เข้าชม
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
2053 ผู้เข้าชม
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
505 ผู้เข้าชม
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
1027 ผู้เข้าชม
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
425 ผู้เข้าชม
มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ
580 ผู้เข้าชม
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
513 ผู้เข้าชม
ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า
1008 ผู้เข้าชม
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
464 ผู้เข้าชม
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
390 ผู้เข้าชม
29557 ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์